เมนู หลัก

สถานที่บิน ร่มร่อน

ร่มที่ผ่าน DHV ล่าสุด

dhv.de Home
มาตรฐานการทดสอบร่ม
มาตรฐาน การทดสอบระดับความปลอดภัยของร่ม

AFNOR การทดสอบระดับความปลอดภัย ของฝรั่งเศส ซึ่งพัฒนามาจาก ACPUL Standard
DHV การทดสอบระดับความปลอดภัย ของเยอรมัน (เยอรมัน และ ออสเตรเลีย ยอมรับ เฉพาะ DHV เท่านั้น)
CEN เป็นมาตรฐานใหม่ ที่คิดจะนำมาใช้แทน AFNOR และ DHV ให้เป็นมาตรฐานเดียวทั่วโลก

ทำไม จึงเป็นมาตรฐาน ของ ฝรั่งเศส หรือเยอรมัน ก็เพราะว่า
ตั้งแต่เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว แหล่งผลิดร่มส่วนใหญ่ เริ่มมาจากสองประเทศนี้
ร่มที่ผ่านการทดสอบความปลอดภัยจาก AFNOR, DHV จึงจะเป็นที่ยอมรับ
แต่ปัจจุบัน มีการผลิตร่มจากหลายฯประเทศทั่วโลก

มาตรฐานเหล่านี้ เป็นการทดสอบ ความปลอดภัยของร่ม ซึ่งไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของร่มเลย
แต่โดยปกติแล้วร่มที่มี DHV สูงฯ(ความปลอดภัยน้อย) จะมีประสิทธิภาพสูง(ความเร็ว, อัตราการร่อน)
แต่ต้องดูปีที่ออกแบบด้วยนะครับ เพราะร่มที่ออกแบบเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว มีอัตราการร่อนที่ 4 ต่อ 1 แต่มี DHV ตั้ง 3 แนะ
เทียบกับร่มนะปัจจุบัน ซึ่งเป็น DHV 1-2 แต่อัตราการร่อนที่ 8 ต่อ 1 คงไม่ได้ เนื่องจากวัสดุและการออกแบบรุดหน้าไปเยอะ

การทดสอบก็จะแบ่งออกเป็น
1.การรับน้ำหนักในสภาวะและสถานการณ์ต่างฯ (ขณะสายพันเป็นปม, การกระชากด้วยแรง G สูงฯ)
2.การบินทดสอบ เพื่อดูถึงความเร็วในการกลับเข้าสู่สถาวะปกติ ตลอดจนทิศทางที่เปลี่ยนไป
หลังจากเจอสภาวะไม่ปกติโดยการกระทำของนักบินทดสอบ

AFNOR แบ่งออกเป็น 3 ระดับ Standard, Performance, Competition
DHV ก็แบ่งออกเป็น 1, 2, 3 คล้าย AFNOR แต่แบ่งย่อยอีก 2 ระดับ คือ 1-2, 2-3

การทดสอบ โดย AFNOR จะทดสอบทั้งหมด 17 อย่าง
.1. Inflation
.2. Landing
.3. Speeds field
.4. Utilization of the accessories
.5. Pitch stability
.6. Exit from parachutal stalls
.7. Exit from B stalls (slow release)
.8. Exit from B stalls (quick release)
.9. Attitude to turn
.10. Maneuverability
.11. Wing over
.12. Exit from asymmetrical tuck
.13. Exit from holded asymmetrical tuck
.14. Exit from spin
.15. Exit from asymmetrical stall
.16. Exit from symmetrical frontal tuck
.17. Exit from tight 3600

ยกตัวอย่างการทดสอบ โดย AFNOR เช่น

.5. Pitch stability
ทำให้ร่มช้าลงจน ร่ม Stalls จากนั้นคลายสายคอนโทรลอย่างเร็ว
Standard - ร่มเหวี่ยงคว่ำหน้าได้ไม่เกิน 45 องศา และยอมให้ร่มยุบได้เล็กน้อยถ้าไม่ทำให้ทิศทางการบินเปลี่ยน
Performance - ยอมให้ร่มเหวี่ยงคว่ำหน้าได้มากสุด 90 องศา และยอมให้sหน้าร่มยุบได้เล็กน้อยถ้าไม่ทำให้ทิศทางการบินเปลี่ยนเกิน 90 องศา
Competition - ไม่ได้บังคับให้ต้องทดสอบด้วย

.6. Exit from parachutal stalls
ทำให้ร่มช้าลงจน ร่ม Stalls จากนั้นคลายสายคอนโทรลช้าฯ จนถึงระดับความเร็วสูงสุด
Standard - ต้องออกจาก stall ภายใน 4 วินาที ร่มเหวี่ยงคว่ำหน้าได้ไม่เกิน 45 องศา และทิศทางการบินเปลี่ยนไปไม่เกิน 180 องศา
Performance - คล้าย Standard ยอมให้ร่มเหวี่ยงคว่ำหน้าได้มากว่า 45 องศา แต่ไม่ถึง 90 องศา
Competition - ยอมให้ร่มเหวี่ยงคว่ำหน้าได้ถึง 90 องศา

.11. Wing over
ทำการเลี้ยว ซ้ายขวา สลับไปมา ให้ร่มเอียงอย่างน้อย 45 องศา
Standard - ร่มต้องไม่มีการพับหรือยุบ
Performance - ยอมให้ร่มพับได้ ถ้าร่มกลับมาบินต่อโดยทิศทางเปลี่ยนไม่เกิน 90 องศา
Competition - เช่นเดียวกับ Performance

.17. Exit from tight 3600
ทำการ เข้า Spiral Dive ด้วยการเลี้ยววงแคบอย่างเร็ว 360 องศา 2 รอบ
รอบที่สามทำการ คืนสายคอนโทรลช้าฯ
Standard - ต้องกลับเข้าสู่การบินปกติภายใน 1 รอบ
Performance - ช้าได้อีกนิดคือ ต้องกลับเข้าสู่การบินปกติได้ ภายใน 2 รอบต่อมา
Competition - ถ้าร่มยังทำการ Spiral Dive ต่อไป นักบินต้องทำให้ร่มกลับสู่สภาวะปกติได้ ภายใน 2 รอบต่อมา

การทดสอบ โดย DHV
มี 14 หัวข้อหลัก แต่ก็แบ่งรายละเอียดเป็นข้อย่อยอีก
.1. Takeoff
.2. Straight and level
.3. Handling in turns
.4. symmetric stall by braking
.5. Frontal collapse
.6. Asymmetric collapse
.7. Asymmetric collapse and counter turn
.8. Full stall symmetric termination
.9. Big ears
.10. Spin entry from trim speed
.11. Spin entry out of a steady turn
.12. Steep spiral
.13. B-stall
.14. Landing

ยกตัวอย่างการทดสอบ โดย DHV เช่น

.1. การ Takeoff
การตั้งกำแพงร่ม
DHV 1 ร่มกางเร็ว มีความสมดุลย์
DHV 1-2 ช้ากว่า DHV 1 นิดหนึ่ง
DHV 2-3 ร่มกางไม่สมดุลย์กัน
การดึงร่มขึ้นจากพื้น
DHV 1 ขึ้นเร็วและไม่ล้ำหน้า
DHV 1-2 ขึ้นไป มีแน้วโน้มที่จะล้ำหน้า
ความเร็วในการออกบิน
DHV 1 ใช้ความเร็วต่ำและปานกลาง
DHV 1-2 ขึ้นไป ใช้ความเร็วสูง
การออกบินโดยรวม
DHV 1 ออกบินได้ง่ายฯ
DHV 1-2,2 การออกบินไม่ยาก
DHV 2-3,3 ต้องพยายามคอนโทรลในการออกบิน

.2. Straight and level
การป้องกันการโคลง(โยกซ้ายขวา)
DHV 1 ป้องกันการโคลงได้ดี
DHV 1-2 ป้องกันการโคลงได้พอสมควร
DHV 2 ป้องกันการโคลงน้อย

.4. symmetric stall by braking
การเข้าสู่สภาวะ deep stall (ร่มร่วงลงอย่างเร็วโดยที่ยังกางอยู่)
DHV 1 ต้องดึงสายคอนโทรล มากว่า 75 เชนติเมตร
DHV 1-2,2 เมื่อดึงสายคอนโทรล 60-75 เชนติเมตร
DHV 2-3 เมื่อดึงสายคอนโทรล 50-60 เชนติเมตร
การออกจาก deep stall
DHV 1 ออกโดยตัวมันเองภายในทันที
DHV 1-2,2 คลายสายคอนโทรลช้าฯ จะออกภายใน 4 วิ
DHV 2-3,3 ร่มยัง Stall ต่อไป (ต้องใช้ความสามารถของนักบินต่อ)

.6. Asymmetric collapse (ปีกข้างใดข้างหนึ่งพับ)
DHV 1 ทิศทางต้องไม่เปลี่ยนเกิน 90 องศา ถ้าหมุนเร็ว แต่ถ้าหมุนช้ายอมให้ ทิศทางเปลี่ยนไม่เกิน 180 องศา ก่อนปีกกางกลับเอง
DHV 1-2 ทิศทางเปลี่ยนไม่เกิน 180 องศา การหมุนไม่เร็วเกินไป
DHV 2 ทิศทางเปลี่ยนไม่เกิน 360 องศา การหมุนไม่เร็ว และสูญเสียความสูงไม่มาก ปีกกางกลับเอง
DHV 2-3 ทิศทางเปลี่ยน 360 องศา การหมุนเร็ว และสูญเสียความสูงเร็ว ปีกไม่กางเอง นักบินต้องช่วย
DHV 3 ไม่เข้าอันอื่น แต่ต้องไม่ (หมุนเร็ว สูญเสียความสูงเร็ว ยากที่จะคอนโทรลด้านที่ยังกางอยู่)

.12. Steep spiral (การหมุนควงสว่าน เพื่อลดความสูงอย่างเร็ว)
การทำ Spiral
DHV 1 ง่าย
DHV 1-2,2 ปานกลาง
DHV 2-3,3 ยาก
การออกจาก Spiral
DHV 1 ทันทีภายใน 180 องศา ที่คลาย
DHV 2 ภายใน 180 - 360 องศา
DHV 2-3 ใช้เวลามากกว่า 360 องศา
DHV 3 ไม่ยอมออกจาก Spiral

.13. B-stall (การลดความสูงอย่างเร็วอีกแบบหนึ่ง)
การทำ B-stall
DHV 1 ทำ B-stall ง่ายมาก
DHV 2-3, 3 ทำ B-stall ยาก
การออกจาก B-stall
DHV 1 ออกจาก B-stall ทันที
DHV 1-2,2 ออกจาก B-stall ภาายใน 4 วิ
DHV 2-3, 3 ยังคง deep-stall ต่อไป

เอามาให้ดู พอเป็นแนวทางครับ ว่าเขาทดสอบกันอย่างไร

ร่มที่จะผ่านการทดสอบได้ จะต้องผ่านการทดสอบทุกฯข้อ
โดยร่มตัวเดียวกันนั้น ก็จะมีค่า DHV ที่ได้หลายค่า จากการทดสอบแต่ละอย่าง
แต่ค่า ที่จะนำมาติดที่ร่มจะเป็น ค่า DHV สูงสุดที่ได้จากการทสดอบ

เช่น ร่มตัวที่หนึ่ง TakeOff, Landing, BigEar, อยู่ในะดับ DHV 1 แต่ Frontal collapse อยู่ในะดับ DHV 2
กับร่มตัวที่สอง TakeOff, Landing, BigEar, และ Frontal collapse ทุกการทดสอบ อยู่ในระดับ DHV 2 หมด
แต่เมื่อนำมาติดค่า DHV ร่มสองตัวนี้ มีค่า DHV เท่ากันคือ DHV 2

การทดสอบ DHV ต้องส่งร่มไปให้ สถาบัน DHV ทำการทดสอบ ไม่ใช่บริษัทผู้ผลิดทดสอบกันเอง
ในการทดสอบร่มแต่ละรุ่น จะต้องทดสอบ ทุกขนาดที่จำหน่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
บางบริษัท จึงเลือกทดสอบ เฉพาะขนาดที่คนใช้เยอะ เช่น Size M,L แต่ Size S
ไม่นำไปทดสอบ Size S จึงไม่มีค่า DHV ติด ทั้งที่เป็นร่มรุ่นเดียวกัน

การแบ่ง คลาสของร่มร่อน และเครื่องร่อนปีกสามเหลี่ยม จะแบ่งตามความปลอดภัย และประสบการณ์ ของนักบิน

ร่ม BASIC: AFNOR-Standard หรือ DHV 1 & 1-2
ร่ม SPORT: AFNOR-Performance หรือ DHV 2 & 2-3
ร่ม COMPETITION: AFNOR-Competition, DHV 3, ระบุคลาสไม่ได้ หรือ ร่มต้นแบบ
ร่ม TANDEM: ร่มสองที่นั่ง (Dual pilot)

นักบินที่มีประสบการณ์น้อย หรือต้องการ ความปลอดภัยสูงสุด ควรเลือกใช้ ร่มเบสิค หรือร่ม DHV 1 ถึง DHV 1-2
เมื่อมีประสบการณ์การบินสูง และต้องการร่มที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็จะใช้ ร่มสปอร์ต หรือร่ม DHV 2 ถึง DHV 2-3

ควรเลือกร่ม ที่ออกมาปีล่าสุดกว่า และ DHV ต่ำสุดก่อน เพื่อความปลอดภัย
หากพอใจกับ ประสิทธิภาพแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ร่มที่มี DHV สูงฯ


levels.gif

เปรียบเทียบมาตรฐานต่างฯ

 

DHV เป็นสถาบันของเยอรมัน ที่ตั้งขึ้นมา เพื่อทำการทดสอบ และออกมาตรฐานต่างฯที่เกี่ยวกับการบิน
ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานของ HangGlider, Paraglider, หรือ Harness ต่างฯ
อุปกรณ์การบินต่างฯ ที่ผ่านการทดสอบ โดย สภาบัน DHV ก็จะมีการออกค่า DHV ให้แก่อุปกรณ์นั้นฯ
ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่า อุปกรณ์ที่ใช้อยู่ ผ่านการทดสอบโดยสภาบันที่มีการยอมรับกันทั่วโลกแล้ว

อย่างร่มร่อน หรือ Paraglider ที่เราใช้อยู่ ทางสภาบัน DHV ก็จะทำการทดสอบความปลอดภัย
ออกมาเป็นค่า DHV ระดับต่างฯ ตั้งแต่ DHV 1 ถึง DHV 3 โดยค่า DHV 1 จะมีความปลอดภัยสูงสุด
ถ้าไม่ผ่านก็จะไม่มีการออกค่า DHV ให้ เพราะถือว่าไม่มีความปลอดภัยพอที่จะยอมรับได้

การทดสอบ ของ DHV จะเป็นการทดสอบ ว่าเมื่อร่มเกิดปัญหาใดฯขึ้น
ร่มจะตอบสนองต่อปัญหานั้นอย่างไร ใช้เวลาในการเข้าสู่สภาวะปกตินานเท่าไร
โดยที่นักบินไม่ต้องเข้าช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเลย
เพราะต้องการทดสอบร่ม ไม่ใช่ทดสอบความสามารถของนักบิน
แต่นักบินที่จะบินทดสอบร่มก็ต้องมีความสามารถมากฯเช่นกัน
เพราะถ้าร่มไม่ผ่านการทดสอบด้วยตัวมันเอง นักบินก็ต้องใช้ความสามรถของนักบินเต็มที่
เพื่อเอาร่มลงพื้นอย่างปลอดภัย

DHV ไม่ได้เน้นไปถึง การที่นักบินทำการแก้ไขปัญหานั้นเอง แล้วร่มจะตอบสนองอย่างไร ใช้เวลาเท่าไร
หรือหากทำการแก้ไขที่ผิดพลาดแล้ว จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรตามมาบ้าง
แต่จะดูถึงการ ตอบสนองของร่ม หลังจากเกิดปัญหาขึ้น ว่ามันแก้ไขตัวเองอย่างไร

จากสถิติที่ผ่านมา พอจะเทียบเคียง DHV ต่างฯ กับผลที่เกิดขึ้นเมื่อนักบินทำการแก้ไขที่ผิดวิธีได้ดังนี้

DHV 1 เป็นร่มที่บินง่ายมาก โดยปกติแล้ว หากเกิดปัญหาขึ้น และไม่ทำการแก้ไขใดฯ ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติโดยตัวมันเอง
แต่หากแก้ไขผิดวิธี โอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติโดยตัวมันเอง จะลดลงประมาณ 20%

DHV 1-2 บินง่าย หากเกิดปัญหาขึ้น และไม่ทำการแก้ไขใดฯ โอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติ มีประมาณ 80%
แต่หากแก้ไขผิดวิธี โอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะ จะลดลงเหลือประมาณ 50%

DHV 2 บินดี แต่ก็มีความไวต่อกระแสลมที่แปรปรวน หรือการควบคุมที่ผิดพลาดง่ายขึ้น เหมาะกับผู้ที่บินบ่อยฯ
หากเกิดปัญหาขึ้น โอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติ มีประมาณ 60%
แต่หากแก้ไขผิดวิธี โอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติจะเหลือ 35%

DHV 2-3 มีความไว และการตอบสนองที่รวดเร็ว หากเกิดปัญหาขึ้น นักบินต้องรีบแก้ไข
หากไม่ทำการแก้ไขใดฯ โอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติ มีแค่ 40%
แต่หากแก้ไขผิดวิธี จะเกิดปัญหาอื่นตามมาอีก และโอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติจะเหลือ 20%

DHV 3 ไวมาก หากเกิดปัญหาขึ้น นักบินต้องรีบแก้ไขอย่างรวดเร็ว หากไม่ทำการแก้ไข โอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติ มีแค่ 30%
แต่หากแก้ไขผิดวิธีอีก จะเกิดปัญหาอื่นหนักกว่าเก่ามาก และโอกาสที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติจะเหลือ 10%

สรุปว่าทุกตัวไม่ว่าจะเป็น DHV อะไรก็ตาม ยามเกิดปัญหาขึ้น
หากแก้ไขผิดวิธี จะทำให้เกิดปัญหาหนักกว่าไม่ทำอะไรอีก

ถ้าต้องการบินอย่างสบายใจ ก็บินร่ม DHV ต่ำฯไว้ก่อน เช่นร่ม DHV 1
ซึ่งโดยปกติแล้ว ปีกจะเข้าสู่สถาวะปกติอย่างรวดเร็ว โดยนักบินไม่ต้องทำอะไร
ถ้า DHV สูงขึ้น เปอร์เชนต์ การแก้ไขโดยตัวมันเองก็จะลดลง ตามลำดับ
และต้องอาศัยการแก้ไขที่ถูกต้องจากนักบิน เพื่อเพิ่มเปอร์เชนต์ ที่ปีกจะเข้าสู่สภาวะปกติ
ฉะนั้นเมื่อคิดที่จะบินกับร่ม DHV สูงฯ นักบินจะต้องเรียนรู้วิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง (SIV Course)
ก่อนจะทำอะไรลงไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนักกว่าเก่า จนหมดเวลาแก้ไข

ร่ม ภายใต้มาตรฐานใหม่ จาก CEN (European Committee for Standardization)
CEN เป็นคณะกรรมการหรือหน่วยงานกลาง ของยุโรบ ที่ร่วมกันกำหนด มาตรฐานในการทดสอบร่ม
โดยมาจาก ฝรั่งเศส (FFVL), อิตาลี (FIVL), เกรทบริเทน (BHPA), เยอรมัน (DHV) และสวิสเซอร์แลนด์ (SHV)

ณ ปัจจุบันได้กำหนด มาตรฐาน ในการทดสอบร่มอันใหม่ ออกมา เรียกว่า EN 926-2
โดยมีการนำข้อดี ทั้งของ DHV และ AFNOR มารวมกัน
การทดสอบ ที่จะให้ร่ม ผ่าน แต่ละ class จะยากขึ้นกว่าแต่ก่อน
ก่อให้เกิดมาตรฐานใหม่ที่มีความปลอดภัยสูงขึ้น
โดย จะแบ่งร่ม ออกเป็น 4 class คือ EN A, EN B, EN C, และ EN D

EN A (ประมาณ DHV 1) เหมาะกับนักบิน ที่มีชั่วโมงบิน ต่ำกว่า 50 ชั่วโมง
EN B (ประมาณ DHV 1-2) นักบิน ควรมีชั่วโมงบิน มากว่า 50 ชั่วโมงขึ้นไป
EN C (ประมาณ DHV 2) นักบินควรมีชั่วโมงบิน ประมาณ 200-300 ชั่วโมง ขึ้นไป
EN D (ประมาณ DHV 2-3) ขึ้นไป นักบินควรมีชั่วโมงบิน ไม่น้อยกว่า 400 ชั่วโมง

การทดสอบตามมาตรฐาน EN926-2

1. Inflation/Take-off
2. Landing
3. Speed in straight flight
4. Control movement
5. Pitch stability exiting accelerated flight
6. Pitch stability operating controls during accelerated flight
7. Roll stability and damping
8. Stability in gentle spirals
9. Behaviour in a steeply banked turn
10. Symmetric front collapse
11. Exiting deep stall (parachutal stall)
12. High angle of attack recovery
13. Recovery from a developed full stall
14. Asymmetric collapse
15. Directional control with a maintained asymmetric collapse
16. Trim speed spin tendency
17. Low speed spin tendency
18. Recovery from a developed spin
19. B-line stall
20. Big ears
21. Big ears in accelerated flight
22. Behaviour exiting a steep spiral
23. Alternative means of directional control
24. Any other flight procedure and/or configuration described in the users manual

เมื่อมาตรฐาน จาก CEN ออกมาอย่างเป็นทางการ มาตรฐาน AFNOR ก็ถูกยุบไปอย่างเป็นทางการเช่นกัน
นั้นก็คือ ตั้งแต่ เมษายน 2006 เป็นต้นมา จะไม่มีร่มที่ทดสอบ โดย AFNOR อีกต่อไป
ส่วน DHV ก็จะค่อยๆลดลง แต่ที่แน่ๆ ในเยอรมัน ยังต้องใช้ DHV อยู่ เนื่องจากมีกฎหมายกำหนดไว้

ผู้ที่จะทำการทดสอบร่ม ตามมาตรฐาน DHV ได้ มีเพียง DHV เท่านั้น
และการจะเปลี่ยนแปลงมาตรฐานใดๆ ก็ต้องทำโดย DHV ผู้เดียว

แต่ มาตรฐานจาก CEN จะกระทำโดย สมาชิก จากทุกๆประเทศที่เข้าร่วม
และมีการโวท เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทุกๆ 3 ปี เป็นอย่างช้า

ใครๆก็สามารถ ตั้งบริษัทขึ้นมา เพื่อรับทดสอบร่ม ให้เป็นไปตาม มาตรฐาน CEN ก็ได้
แต่ต้องไม่ขึ้นกับบริษัทร่มใดๆ และต้องได้รับการยอมรับจากหมู่สมาชิก CEN

ตอนนี้บริษัทแรก ที่เป็นผู้ทดสอบร่ม ให้เป็นไปตามมาตรฐาน CEN
คือ Air Turquoise ซึ่งเคยเป็นบริษัท ทดสอบร่มให้ กับ AFNOR มาก่อน

AFNOR (The French ACPULS certification)
DHV (The German GUTE SIEGEL certification)
USHGA (The United States Hang Gliding Association)
AHGF (Australian Hang Gliding Federation)
SHV (The Swiss Hang Gliding certification)
USPA (United States Parachute Association)
SAPA (SA Parachute Association)
FFVL (Fédération Française de Vol Libre)
FIVL (Federazione Italiana Volo Libero)
BHPA (British Hang Gliding and Paragliding Association)



CEN.gif

ร่มตัวแรก ที่ผ่านการทดสอบ คือ ร่มจาก Aeros รุ่น Amigo ไซส์ 29
ผลการทดสอบ ได้ Classification C

ขณะนี้ เริ่มมีบริษัทร่ม ส่งเข้าทดสอบกับ CEN หลายบริษัทแล้ว
เช่น Aeros, Icaro, MCC Aviation, Ozone,
Gin, Sol, Niviuk, Swing, Sky Paragliders, Gradient

รวมๆแล้ว ตอนนี้ ผ่านการทดสอบไปแล้ว ประมาณ 40 ตัว

มาดู รายละเอียด ที่เนมเพลท บ้าง

PG 001.2006 หมายเลขการทดสอบ 001 หมายถึงร่มตัวแรก ที่ทดสอบ ในปี 2006
16.06.2006 คือวันที่ออกใบรับรอง

AEROS
บริษัทที่ผลิตร่มตัวนี้
AMIGO 29
รุ่นและใซส์ ที่ทดสอบ
(แต่ละไซส์ จะทดสอบและออกใบรับรอง ต่างหมายเลขกัน)

Maximum totol wieght in flight : 125 kg
น้ำหนักสูงสุดขณะบิน ที่ยังคงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ตามใบรับรอง
Minimum totol wieght in flight : 95 kg
น้ำหนักต่ำสุดขณะบิน ที่ยังคงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ตามใบรับรอง
Weight of the paraglider : 6.7 kg
น้ำหนักของร่ม
Number of risers: 4
จำนวนสายไรเซอร์ (A,B,C,D ร่มบางตัวอาจมี 3 ไรเซอร์ เพื่อลดจำนวนสาย และแรงต้านลม)
Project area : 26
พื้นที่ปีกขณะบิน, พื้นที่ปีกตอนกางที่พื้น(Span) อาจจะเท่ากัน
แต่ตอนบินอาจไม่เท่ากัน ถ้ารูปปีกโค้งไม่เท่ากัน(Arc)

Harness ฮาร์นเนส ที่ใช้บินทดสอบ กับร่มตัวนี้
Type : ABS
ประเภคของฮาร์นเนส เป็น แบบ ถ่ายเทน่ำหนักอัตโนมัติ (Auto Balance System) ช่วยถ่ายเทน้ำหนักไปด้านที่ไม่พับ
Brand name : SOL
ผลิดโดยบริษัท SOL
Model : Slider L
รุ่นและไซส์ ของ ฮาร์นเนส
Seat to lowest part of riser distance: 42 cm
ระยะห่าง จากที่นั่งถึงจุดแขวนไรเซอร์
Distance between top : 46 cm
ระยะห่างระหว่างไรเซอร์
ยิ่งแคบก็ยิ่งนิ่งไม่ค่อยแกว่ง แต่อาจทวิสได้ง่ายถ้าแคบเกิน
ยิ่งกว้าง ยิ่งตอบสนองเร็วเวลาเจอเทอร์มอล หรือเวทชิต แต่จะรู้สึกไม่เสถียรไม่นิ่ง
(ห่างเพิ่มขึ้นเพียง 3-4 เซน ก็ไห้ความรู้สึกที่แตกต่างมาก)



2006.001.gif

ร่มรุ่นเดียวกัน แต่ต่างไซส์ ก็อาจได้ผลการทดสอบที่ต่างกัน  นั้นก็คือ มีความปลอดภัยต่างกัน


2006.005.gif

Ozone Element ไซส์ M

2006.006.gif

Ozone Element ไซส์ L

 


http://www.p-m-a.info/english/welcome.html


PMA.JPG

 

pmasthil2007.jpg

จาก การร่วมมือ ของบริษัทผลิตร่ม กว่า 30 บริษัท
(Paraglider Manufacturers Associations) ประกอบด้วย ADVANCE, AEROSPORT, AIRWAVE,
APCO, FIREBIRD, GIN GLIDERS, GRADIENT, ICARO, INDEPENDENCE, ITV, MAC PARA,
MCC AVIATION, NERVURES, NIVIUK, NOVA, OZONE, PARATECH, PRO-DESIGN,
SKY PARAGLIDERS, SKYLINE, SKYWALK, SKYWARD, SOL PARAGLIDERS, SUPAIR,
SWING, TEAM 5, TURNPOINT, UP, U-TURN, WINGS OF CHANGE

เพื่อร่วมกันพัฒนาและปรับปรุง มาตรฐานในการทดสอบ ให้เป็นกลาง และมีมาตรฐานเดียวกัน ทั้งหมด

PMA ให้การยอมรับ ใน ระบบ ของ EN มาก DHV จึงต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานใหม่บ้าง

โดยแบ่ง ระดับความปลอดภัย เป็น LTF1, LTF1-2, LTF2, LTF2-3.....
หากดูดีๆแล้ว LTF ก็เป็นเพียงการตั้งชื่อการทดสอบใหม่ ของ DHV (โดยใช้ชื่อเก่าที่เคยใช้)

เพราะถ้าไม่ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย DHV อาจถูก EN เข้ามาแทนที่หมด

เพราะ EN เริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และบริษัทผลิตร่มต่างๆ(PMA) ก็ให้การสนับสนุนเต็มที่

การที่จะต้องส่งร่ม ไปทดสอบ ทั้ง DHV และ EN ต้องใช้ งบประมาณที่มากขึ้น
บางบริษัทจึงเลือกส่งไปทดสอบ เฉพาะ EN

DHV ซึ่งเป็นชื่อย่อ ของหน่วยงาน แต่ถูกนำมาใช้เป็นชื่อ มาตรฐานการทดสอบมานาน
จึงกลับไปใช้ LTF (Lufttuchtigkeitsforderungen) ซึ่งใช้มานานแล้ว เป็นชื่อมาตรฐานการทดสอบขึ้นมา แทน DHV
เพื่อความเป็นกลาง และดูเหมือนเปิดกว้าง และมีแนวโน้ม ที่จะนำเอา มาตรฐานการทดสอบ ของ EN มาประยุกต์เข้าไปด้วย
หรือไม่ ก็ รับทดสอบ ทั้ง มาตรฐาน LTF และ EN ทั้งที่ ตอนแรก DHV ไม่ยอมรับ EN คงเป็นเพราะเหตุผลทางด้านผลประโยชน์

ต่อไป หน่วยงานที่จะทำการทดสอบ ภายใต้มาตรฐาน เดียวกัน ก็มี
Aerotest
Air Turquoise
Acadamy
DHV